วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

ระบบจัดการข้อมูล

1.ระบบจัดการฐานข้อมูล
 การจัดการฐานข้อมูล(Database Management) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของโปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิภาพ  
ระบบการจัดการฐานข้อมูล จะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนได้แก่
1.ภาษาคำนิยามของข้อมูล [Data Definition Language (DDL)]
ในส่วนนี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบของระบบการจัดการฐานข้อมูลว่าข้อมูลแต่ละส่วน ประกอบด้วยอะไรบ้าง (Data element) ในฐานข้อมูลซึ่งเป็นภาษาทางการที่นักเขียนโปรแกรมใช้ในการจะประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างข้อมูลว่ามีคอลัมน์อะไรแต่ละคอลัมน์เก็บข้อมูลประเภทใด รวมถึงการเพิ่มคอลัมน์ การกำหนดดัชนี เป็นต้น
2. ภาษาการจัดการฐานข้อมูล (Data Manipulation Language (DML)
เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้ในการจัดการระบบฐานของข้อมูล  ซึ่งอาจจะเป็นการเชื่อมโปรแกรมภาษาในยุคที่สามและยุคที่สี่เข้าด้วยกันเพื่อใช้จัดการข้อมูลในฐานข้อมูลได้แก่ ภาษาSQL(Structure Query Language)   
3. พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
เป็นเครื่องมือใช้สำหรับการเก็บและการจัดข้อมูลสำหรับการบำรุงรักษาในฐาน ข้อมูลโดยมีการกำหนดชื่อของสิ่งต่างๆ (Entity) และยังมีระบุไว้ในโปรแกรมฐานข้อมูล

สรุปได้ว่าข้อมูลนั้นประกอบด้วย การจัดเก็บข้อมูล  การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของตัวข้อมูล  ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบ่งกลุ่มจัดลำดับกำหนดรหัสข้อมูล สรุปผลทำรายงานคำนวณ เก็บรักษาข้อมูลโดยจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและเชื่อถือได้ของข้อมูล  การค้นหาข้อมูล  การสำรวจข้อมูล และยังรวมไปถึงเผยแพร่แจกจ่ายข้อมูล




วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี

2.ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี
1) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 
การจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นแฟ้ม จะพบกับปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลซึ่งจะทำให้การบริหารข้อมูลทำได้ยาก ข้อมูลจึงควรได้รับการออกแบบ และเก็บอยู่ในฐานข้อมูลที่ใดที่เดียว เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลเมื่อจะต้องใช้งานได้กับผู้ใช้หลาย ๆ ประเภท หรือหลายแบบ
2) กำหนดมาตรฐานข้อมูล
ในการสร้างฐานข้อมูลจะต้องให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นมาตรฐาน มีการกำหนดรหัสที่เป็นมาตรฐาน มีการกำหนดคำหลัก (keyword) 
3) มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล 
                ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จำเป็นต้องจัดแบ่งระดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อกำหนดผู้ใช้ มีการควบคุมข้อมูล เพื่อบ่งบอกว่าใครจะเป็นผู้แก้ไข  และมีการบันทึกประวัติการแก้ไขข้อมูลเพื่อตรวจสอบ 
 4) มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม 
ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลและฐานข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม เพื่อทำให้สามารถใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใด ๆ จัดการฐานข้อมูลได้การออกแบบให้ข้อมูลเป็นอิสระนี้ทำให้ข้อมูลใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกได้รูปแบบ
5) รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง
การดำเนินงานฐานข้อมูลต้องมีการจัดการเตรียมฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลโดยการจัดแบ่งแยก ปรับปรุงข้อมูล และมีการตรวจสอบความถูกต้องหน้าที่หลักของผู้บริหารฐานข้อมูลจึงประกอบไปด้วยการจัดเก็บข้อมูล 
การจัดการสารสนเทศที่ดีมีความสำคัญกับการบริหารเป็นอย่างมาก และยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์การต่าง ๆ โดยเข้ามามีส่วนในกระบวนการบริหารจัดการและการตัดสินใจ รวมทั้งการวางแผนงานต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 




วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

ระดับสารสนเทศ

3.ระดับสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
 เป็นระบบที่ช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถจะทำงานใน หน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงานโดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตนซึ่งในปัจจุบันนี้โปรแกรมได้พัฒนา ให้มีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมากขึ้น เช่น โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database)   
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม
วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มนั้น ก็คือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่สูงที่สุดไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือการใช้อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันทั้งนี้  ก็เพื่อจะสร้างประสิทธิภาพในการทำงานนั่นเองเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแลน (Local Area Network:Lan) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เป็นอย่างดีและการเก็บข้อมูลอยู่ที่ศูนย์กลางที่เรียกว่า (File Sever)
ระบบสารสนเทศระดับองค์กร
เปรียบเสมือนการเอาระบบสารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกันเพราะระดับสานสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลายๆแผนกก็เพื่อจะสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น


 

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของสารสนเทศ

4.องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ประการแรกก็คือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์
ประการที่สองคือ หากว่ามีการบันทึกข้อมูลก็จะต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร
ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง
ประการที่สี่  คือซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการได้
ประการสุดท้ายคือตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบ  ที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ

มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน



บุคลากร  นั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมดบุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการที่จะใช้เทคโนโลยีสื่อสารสนเทศ   

ขั้นตอนการปฏิบัต เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา

ซอฟต์แวร์ คือ ลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ

ข้อมูล นั้น เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสื่อสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสารสนเทศที่ต้องการ

ฮาร์ดแวร์  หมายถึง  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่งได้และให้ผลลัพธ์ตามต้องการ ประกอบด้วยอุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า (input devices), หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing unit),อุปกรณ์แสดงผล(output devices),อุปกรณ์ความจำสำรอง (Secondary Storage devices)
     1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลโปรแกรมต่างๆ  ที่ส่งผ่านอุปกรณ์เข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำ ได้แก่ แป้นพิมพ์, เมาส์, Joystick ฯลฯ
    
 1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)  หรือ CPU นั้นจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงาน แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ
          1.2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit)
          1.2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit)
          1.2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit)  เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่จำ หรือเก็บคำสั่ง และข้อมูลต่างๆ     
1.3 หน่วยแสดงผล
เป็นหน่วยที่แสดงผลออกมาทางสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์, เครื่องเจาะบัตร เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ระบบเอทีเอม

5.ระบบเอทีเอ็ม



เทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ  พ.ศ.2520   เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงก์ ในเมืองนิวยอร์กเริ่มให้มีบริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ตลอก 24 ชั่วโมง  ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย  และคล่องตัว การนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรกสร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคูแข่งเกิดขึ้น  ซ้ำแล้วซ้ำอีกในเมืองใหญ่  ธนาคารต่างๆที่ประยุกต์  ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อนและให้บริการที่เหนือกว่าสามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดได้  สูงมากเหนือคู่แข่งเนื่องจากได้ใช้ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์ ในการแข่งขัน  เทคโนโลยีที่มีอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็ม ก็คือระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลของบัญชีเงินฝาก ของลูกค้าธนาคารไว้   ในฐานข้อมูลทำให้สามารถเชื่อมโยง  ระบบคอมพิวเตอร์ไปทั่วโลกผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มนั้นสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มทุกที่  เช่น ในห้างสรรพสินค้า

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเอทีเอ็ม

การนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรก สร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคู่แข่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในเมืองใหญ่ ทั่วๆโลก ธนาคารใดๆในเมืองเหล่านั้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อน  และให้บริการที่เหนือกว่าก็จะสามารถดึงส่วนแบ่งการตลาด    ได้สูงมากเหนือคู่แข่ง    เช่น  ปรากฏการณ์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้เอทีเอ็มและประสบความสำเร็จได้ก่อนจึงมีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำเอามาประยุกต์ในงานต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การและธุรกิจได้อีกมากมาย


เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ ATM 

เป็นระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ATMไม่ใช่ระบบการเบิกถอนเงินสดแต่มาจากคำย่อของ Asynchronous Transfer Mode  เป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่ใช้รูปแบบการสื่อสารเป็นแบบแพ็กเก็จ เหมือนเช่นในเครือข่าย  X.25  หรือระบบ  LAN     อื่น ๆแต่การสื่อสารเป็นแบบอะซิงโครนัสคือตัวรับและตัวส่งใช้สัญญาณนาฬิกาแยกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน คือ  ATM  ส่งข้อมูลด้วยขนาดของแพ็กเก็จ ที่ทุกแพ็กเก็จนั้นมีจำนวนข้อมูลเท่ากันเสมอแพ็กเก็จของATM มีขนาด 53 ไบต์โดยให้ 5 ไบต์แรกเป็นส่วนหัวที่จะบอกรายละเอียดของแอดเดรสและมีส่วนข้อมูลข่าวสารอีก 48ไบต์ตามมาเราจะเรียกแพ็ก-เก็จของ ATM ว่า " เซล " การออกแบบให้เซลข้อมูลมีขนาดสั้น ก็เพื่อความเหมาะสมที่จะประยุกต์ใช้งานต่างๆได้อย่างกว้างขวางขึ้นคือใช้รับส่งข้อมูล เสียง ภาพหรือข้อมูลต่าง ๆ   ที่ต้องการส่งผ่านกันและกันด้วยความเร็วสูง